แนวคิดทฤษฎีวิพากษ์ ของมาร์กซิสม์ (Critical theory)

orangedots แนวคิดทฤษฎีวิพากษ์ ของมาร์กซิสม์ (Critical theory)

ความคิดของมาร์กซนั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากทั้งแนวคิดวิภาษวิธีประวัติศาสตร์ของเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel) และเศรษฐศาสตร์การเมืองของแอดัม สมิท (Adam Smith) และเดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) เขาเชื่อในความเป็นไปได้ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์และสังคมในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจแนวโน้มของประวัติศาสตร์รวมถึงผลลัพธ์ของข้อขัดแย้งทางสังคมได้

ปรัชญาของมาร์กซ (ที่เฮเกล เรียกว่า วัตถุนิยมประวัติศาสตร์) นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงมาจากแนวคิดของเฮเกิลที่ว่าความจริง (รวมถึงประวัติศาสตร์) นั้นจะต้องพิจารณาแบบวิภาษวิธี (dialectic) โดยมองว่าเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้าม หลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่าเป็น thesis + antithesis synthesis (ข้อวินิจฉัย + ข้อโต้แย้ง → การประสม, การสังเคราะห์) เฮเกลเชื่อว่าทิศทางของประวัติศาสตร์นั้นสามารถพิจารณาได้เป็นช่วง ๆ ที่มีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์และจริงแท้ เขากล่าวว่าหลายครั้งพัฒนาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อาจมีบางช่วงที่ต้องมีการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงผู้ที่อยู่ในอำนาจเดิม มาร์กซยอมรับภาพรวมของประวัติศาสตร์ตามที่เฮเกลเสนอ อย่างไรก็ตามเฮเกลนั้นเป็นนักปรัชญาแนวจิตนิยม ส่วนมาร์กซนั้นต้องการจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของวัตถุ เขาได้เขียนว่านักปรัชญาสายเฮเกลนั้นวางความเป็นจริงไว้บนหัว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจับมันให้วางเสียใหม่บนเท้าของตนเอง
Continue reading

การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติในกีฬามวยไทย

orangedots กรณีศึกษางานวิจัยเรื่อง การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติในกีฬามวยไทย (ดร.ทิฆัมพร  เอี่ยมเรไร)

            การนิยาม “ความแป็นไทย” (Thainess) ในงานวิจัยด้านการสื่อสารการกีฬาส่วนใหญ่ระบุไปในทิศทางเดียวกัน มวยไทยคือภาพที่เมื่อหลับตาแล้วจินตนาการเห็น “ความเป็นไทย” ได้ชัดเจนที่สุด ไม่ว่า “ความเป็นไทย”จะมีความหมายคลุมเครือเพียงใด โอกาสผิดเพี้ยนไปเป็นของ “ชาติอื่น” หรือ “ไม่เป็นไทย”(un-thai)นั้นน้อยมาก ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะมีคำว่า “ไทย” กำกับชื่อรัฐ-ชาติ (nation-state) ต่อท้ายด้วยคำว่า “มวย” นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงรหัสและเนื้อหาต่างๆที่ปลูกฝังการรับรู้อยู่ในชีวิตประจำวัน (everyday life) ผ่านสื่อต่างๆ จนกลายเป็นจิตสำนึก (conscious) ของคนไทยไม่ต่างไปจากการทำหน้าที่ผลิตซ้ำ “ความเป็นไทย”ของสื่อที่คุ้นเคยอย่างเพลงชาติไทย หรือธงชาติไทย

ชนชั้นนำของไทยเคยผูกขาดการสร้างชาติให้ “ศิวิไลซ์” ทักเทียทตะวันตก เพื่อให้รอดพ้นจากลัทธิล่าอาณานิคมของชาตตะวันตก ในฐานะผู้สร้างวัฒนธรรม (cultural creator) ชนชั้นปกครองจึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเนื้อหา (content) ต่างๆ ทว่าเมื่อ “ศัตรู” เปลี่ยนมาเป็นโลกภิวัตน์ บทบาทในการป้องกันและการต่อสู้กับกระแสระดับโลกโดยรัฐเพียงลำพังเริ่มเป็นปัญหา จึงต้องเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการ

ผู้วิจัยใช้แนวคิดและทฤษฎีสื่อกีฬา ชาติ อัตลักษณ์ความเป็นชาติ การเล่าเรื่อง โครงสร้างนิยมเชิงกำหนด และหน้าที่มาวางเป็นกรอบแนวคิด (framework) เพื่อวิเคราะห์มวยไทยที่ปรากฏตัวผ่านสื่อต่างๆ หรือที่งานวิจัยนี้เรียกว่า “สื่อมวยไทย” ในฐานะของ “สื่อวัฒนธรรม” ด้วยแนวทางศึกษาภาคตัดขวาง (cross-sectional study)

Continue reading

ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory Study)

ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory Study)

              Grounded  Theory มีคำที่ใช้เรียกในภาษาไทย เช่น ทฤษฎีฐานราก ทฤษฎีจากข้อมูล ทฤษฎีติดดิน ทฤษฎีติดพื้น แต่ในที่นี้ใช้คำว่าทฤษฎีฐานราก  ซึ่งคำว่า ฐานราก  มาจากความคิดที่ว่า ทฤษฎีจะปรากฏจากการศึกษา และมีรากฐาน มาจากข้อมูลที่เก็บมาจากภาคสนาม มากกว่าจากวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

Glaser (1967) กล่าวว่า ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory Study) เป็นการศึกษาปรากฏการณ์จากมุมมองและการให้ความหมายของคนจากปรากฏการณ์  นำข้อมูลที่ได้มาสร้างมโนทัศน์(concept) และหาความเชื่อมโยงจากมโนทัศน์ต่าง ๆ ให้ได้ข้อสรุปเชิงทฤษฏีสำหรับอธิบายและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
Continue reading

แนวคิดการสร้างภาพแทน (Representation)

แนวคิดการสร้างภาพแทน (Representation)

ภาพแทน (Representation) คือ ผลผลิตความหมายของสิ่งที่คิด (concept) ในสมองของเราผ่านภาษา เป็นการเชื่อมโยงระหว่างความคิดและภาษา ซึ่งทำให้เราสามารถอ้างอิงถึงโลกวัตถุจริงๆ ผู้คน เหตุการณ์ หรือจินตนาการถึงโลกสมมุติ ผู้คน และเหตุการณ์สมมุติได้การสร้างภาพแทนนั้น ประกอบไปด้วยกระบวนการ 2 กระบวนการ หรือ ระบบการสร้างภาพแทน 2 ระบบ ด้วยกัน คือ

                   ระบบแรก คือ ระบบที่จะช่วยในการจัดจำแนกวัตถุ ผู้คน และเหตุการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับชุดความคิด (a set of concept) หรือ ภาพแทนในความคิด (mental representation) ซึ่งมีอยู่ในสมองของเรา ถ้าไม่มีระบบนี้ เราจะไม่สามารถตีความโลกแห่งความหมายได้ ความหมายนั้นขึ้นอยู่กับระบบความคิด และภาพ (image) ที่ถูกสร้างขึ้นในความคิดของเราซึ่งสามารถใช้แทนที่หรืออ้างอิงโลกวัตถุ ทำให้เราสามารถที่จะอ้างอิงถึงสิ่งต่างๆ ทั้งที่อยู่ในสมองและนอกสมองของเราได้การที่เราเรียกระบบที่ช่วยจำแนกแยกแยะว่าเป็นระบบการสร้างภาพแทน ก็เพราะว่า มันไม่ได้ประกอบไปด้วยความคิดที่เป็นปัจเจกเท่านั้น แต่มีความหลากหลายในการรวบรวม การจัดกลุ่ม การจัดหมวดหมู่ การจัดประเภทของความคิด และสร้างความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างกันได้ ยกตัวอย่างเช่น เราใช้หลักเกณฑ์ความคล้ายคลึงและความแตกต่างในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหรือสร้างความแตกต่างของความคิดจากสิ่งต่างๆ เช่น เรามีความคิดว่า ในบางประการ นกเหมือนกับเครื่องบินบนท้องฟ้า ซึ่งความคิดนี้ตั้งอยู่บนฐานของความจริงที่ว่า พวกมันเหมือนกันเพราะพวกมันบินได้ แต่ในขณะเดียวกันเราก็มีความคิดว่า มันมีความแตกต่างในประการอื่นๆ อีก คือ นกเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ในขณะที่เครื่องบินเป็นประดิษฐกรรมของมนุษย์ การผสมและจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดต่างๆ เพื่อก่อรูปของความเข้าใจ (idea) และความเห็นอย่างซับซ้อนนั้นเป็นไปได้ ก็เพราะ ความคิดของเราถูกจัดการด้วยระบบการจัดจำแนกความแตกต่างจากตัวอย่างข้างต้น ในการแยกแยะครั้งแรก อยู่บนฐานของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่บินได้กับบินไม่ได้ และในการแยกแยะครั้งที่สองอยู่บนฐานของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมากับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีกฎเกณฑ์อื่นๆ อีกในการจัดการแยกแยะซึ่งทั้งหมดทำงานภายใต้ระบบความคิด เช่น การจัดลำดับก่อนหลัง ความคิดใดมาก่อนและความคิดใดมาทีหลัง หรือ การจัดลำดับตามหลักเหตุผล อะไรเป็นสาเหตุของอะไร เป็นต้น ความคิดนั้นไม่ได้ถูกเก็บรวบรวมแบบสุ่ม แต่ความคิดถูกรวบรวม จัดการ และจำแนกเข้าสู่ความสัมพันธ์อันซับซ้อนกับสิ่งอื่นๆ
Continue reading

การขาดจริยธรรมทางการเมือง ในการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผ่านหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย

กรณีศึกษา งานวิจัย การขาดจริยธรรมทางการเมือง ในการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผ่านหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย : ผศ.ดร. พนมสิทธิ์ สอนประจักษ์
ปัญหาการขาดจริยธรรมทางการเมืองที่มักจะเกิดขึ้นต้องกับการเลือกตั้งส่งผลต่อการเกิดวัฒนธรรมทางความคิดที่ไม่ถูกต้องของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ขาดความรู้ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการเลือกตั้งมักจะเลือกผู้สมัครที่มีการให้สิ่งตอบแทนหรือเงิน มากกว่าการดูข้อมูลของผู้สมัครด้านผลงาน หรือความซื่อสัตย์ของผู้สมัครซึ่งโดยมากแล้วมักจะเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ที่มีความใกล้ชิดและอุปถัมค้ำจุนกับชุมชน ทำให้การเลือกตั้งแต่ละครั้งประชาชนจะให้ความสำคัญกับการตอบแทนบุญคุณ มากกว่าการดูข้อมูลด้านอื่นๆของผู้สมัคร นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการผิดจริยธรรมอีกมากมายที่เกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้งที่นำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งผลของการผิดจริยธรรมนั้น นำไปสู่การได้รับผู้แทนที่ไม่มีคุณภาพ เกิดปัญหาการคอรัปชั่น และส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศโดยตรง
Continue reading

งานวิจัยเรื่อง The Odyssey of Elephant: Contemporary Images and Representation

งานวิจัยเรื่อง The Odyssey of Elephant: Contemporary Images and Representation  (ดร.รัฐพล ไชยรัตน์)

เป็นตัวอย่างงานวิจัยทางด้านสัญญะวิทยา ตัวอย่างหนึ่งซึ่ง มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเปลี่ยนแปลงบทบาทของช้างในวัฒนธรรมไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และความเป็นสมัยใหม่ รวมถึงผลกระทบของการนำเข้าทางวัฒนธรรมที่มีอิธิพลต่อแนวความคิด ศึกษาปัญหาของการเป็น “รูปแทน” (Representation) และแบบจำลองของวิถีชีวิตร่วมสมัย (Contemporary) ของช้างไทยที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ของสาธารณะ และได้มีการสร้างงานศิลปะ ในรูปแบบของภาพดิจิตอลและภาพเคลื่อนไหว ที่สื่อถึงแนวความคิดที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
Continue reading

สัญวิทยากลุ่มลัทธิหลังสมัยใหม่

สัญวิทยากลุ่มลัทธิหลังสมัยใหม่

สัญญะวิทยา (Semiology) นั้นเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการให้คำอธิบายต่อสิ่งที่เรียกว่าสัญญะ (Sign) คือ อธิบายการเกิดขึ้นการพัฒนา การแปรเปลี่ยน รวมทั้งการเสื่อมโทรมตลอดจนการ

สูญสลายของสัญญะหนึ่ง ๆ ที่ปรากฏออกมาอย่างมีระบบระเบียบ สัญญะเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความหมายแทนตัวจริงหรือของจริง ซึ่งความหมายของสัญญะนั้นขึ้นอยู ่กับตัวบท(Text) และบริบท (Context) ที่แวดล้อมสัญญะนั้น ๆ หน้าที่ของสัญญะ คือ การสื่อความคิด เนื้อหาสาระที่ปรากฏในสื่อนั้นผู้รับสารเป็นผู้ตีความ (Interpretation)หรือถอดความ (Decoding) ซึ่งการรับรู้ในสัญลักษณ์ที่ปรากฏมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์การรับรู้ของผู้ตีความ

สัญญะคือสิ่งที่สร้างขึ้นมาทดแทนของจริงที่ปรากฏทฤษฎีทางด้านสัญญะวิทยาได้เข้ามามีบทบาทในการตีความหมายทางความงามของศิลปะหลังสมัยใหม่ และเมื่อกล่าวถึงการมองคุณค่าทางความงามของศิลปะหลังสมัยใหม่ สิ่งที่เรียกว่าสัญญะ (Sign) การตีความ (Hermeneutics) บริบท (Text)เวลา (Time) และพื้นที่ (Space) ได้เข้ามาแทนที่การถอดรหัสคุณค่าทางความงามแบบเดิมที่ว่าด้วยองค์ประกอบทางศิลปะเส้ น สี แสงเงา เป็ นการตีความจากสั ญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นภาษา รหัส เครื่ องหมายสั ญญาณ รวมทั้ งการสื่อสารอื ่น ๆอีกมากมายของมนุษย์ การศึกษาเกี่ยวกับระบบสัญลักษณ์ หรือสัญญะวิทยา จึงมีความสำาคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเข้าใจในคุณค่าของการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง

Continue reading

การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวไทยมลายูในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ฯ

orangedots กรณีศึกษาเรื่อง “การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตันประเทศมาเลเซีย” (พีรยุทธ โอรพันธ์, 2551)

                      การศึกษาในครั้งนี้เกิดขึ้นจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรกสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550) มีความรุนแรงเป็นอย่างมาก จนส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกหมู่เหล่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และได้กระจายผลกระทบเป็นวงกว้างสู่ประเทศไทยโดยรวม ขณะเดียวกันแม้จะมีงานเขียนเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยจำนวนมาก แต่ก็มีเพียงน้อยชิ้นที่เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการเชิงศาสตร์ ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มเติมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและวัฒนธรรม ประการที่สอง พื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและพื้นที่ชายแดนตอนเหนือของประเทศมาเลเซียเป็นพื้นที่ที่มีความเหลื่อมล้ำทับซ้อนกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และเส้นแบ่งเขตประเทศ นั่นคือมีประชาชนชาวไทยเชื้อสายมลายูจำนวนมากในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ขณะเดียวกันก็มีประชาชนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ในรัฐกลันตันประเทศมาเลเซีย ลักษณะความหลากหลายดังกล่าวเป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการค้นหาองค์ความรู้ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการสื่อสารในสองบริบทพร้อมๆ กัน การศึกษาโดยนำข้อมูลจากสองพื้นที่มาเปรียบเทียบกันนอกจากจะทำให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการสื่อสารได้กว้างขึ้นแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อสร้างทฤษฎีที่มีความหนักแน่นมากกว่าการศึกษาเพียงพื้นที่เดียว ดังนั้น ความมุ่งหมายสำคัญจากการศึกษาครั้งนี้ก็คือ เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาทฤษฎีที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมได้อย่างค่อนข้างหนักแน่น และเป็นการค้นหาองค์ความรู้ที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชาวไทยเชื้อสายมลายูและชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและวัฒนธรรม(พีรยุทธ โอรพันธ์, 2551: 470)
Continue reading

ทฤษฎีการสื่อสารวัฒนธรรมร่วม (Co-cultural communication theory)

orangedots ทฤษฎีการสื่อสารวัฒนธรรมร่วม (Co-cultural communication theory)

สำหรับการศึกษาในเรื่องของวัฒนธรรมมีผู้ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นในหลายมิติ รวมทั้งมิติของการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication)ซึ่งในมิตินี้Mark P. Orbeได้เรียกว่าเป็นการสื่อสารวัฒนธรรมร่วมหรือ “Co-culturalCommunication”

Mark P. Orbeได้ศึกษาเกี่ยวกับ แบบแผนการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยที่มีต่อชนกลุ่มใหญ่ของสังคมภายใต้อำนาจที่ไม่ทัดเทียมกันอันได้แก่ ชนผิวสี สตรี เกย์ เลสเบี้ยน ผู้พิการ เป็นต้น ในบริบทของสังคมอเมริกัน

การสื่อสารวัฒนธรรมร่วม(Co-culturalCommunication) เป็นอีกคำหนึ่งที่Mark P. Orbeใช้แทนการกล่าวถึงสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication) โดย Orbe ได้อธิบายคำว่าการสื่อสารวัฒนธรรมร่วมว่าเป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนที่มีอำนาจเหนือกว่ากับกลุ่มคนที่มีอำนาจต่ำกว่าในสังคม เขาเลือกที่จะใช้คำว่า “co-cultural communication” แทนที่จะเป็นคำอื่นอาทิ “subcultured”, “subordinate” หรือ “muted group” เนื่องจากคำเรียกดังกล่าวค่อนข้างเป็นคำเรียกที่มองกลุ่มสังคมเหล่านี้ในทางต่ำต้อยกว่า และใช้คำว่า “tactic” เพื่ออธิบายการกระทำการสื่อสารของกลุ่มที่ไม่มีอิทธิพลและใช้คำว่า “strategies” กับกลุ่มที่มีอิทธิพล (Orbe,Mark P.,1998 อ้างถึงใน พีรยุทธ โอรพันธ์, 2551)
Continue reading

แนวคิดของฟูโกต์ว่าด้วยการศึกษาแบบโบราณคดี : Archaeology method

orangedots แนวคิดของฟูโกต์ว่าด้วยการศึกษาแบบโบราณคดี : Archaeology method

นักวิชาการชื่อดังอย่างกาญจนา แก้วเทพได้กล่าวไว้ว่า  งานของฟูโกต์มีลักษณะเป็นประวัติศาสตร์ (History)  แต่ไม่ใช่เป็นประวัติศาสตร์ของตัวบุคคลหรือเหตุการณ์  แต่เป็นประวัติศาสตร์ของอารยธรรม (History of civilization) หรือประวัติศาสตร์ของความนึกคิด (History of mentality)  ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางจิตหรือระบบคิดของคน  ซึ่งฟูโกต์เรียกวิธีการศึกษาแบบนี้ว่า วิธีการศึกษาแบบโบราณคดี หรือ Archaeology เป็นคำศัพท์ที่ฟูโกต์คิดและมีความหมายเฉพาะ(กาญจนา แก้วเทพ 2554, หน้า339)

โดยแนวคิดที่สำคัญของวิธีการศึกษาแบบโบราณคดีเกี่ยวพันกับ 3 แนวคิด คือ เรื่องอำนาจ และความรู้  ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สิ่งนี้ทำงานอยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “การก่อรูปของวาทกรรม” (Discursive formation) และ “การปฏิบัติการของวาทกรรม” (Discursive practice)

แนวคิดของฟูโกต์ต่อเรื่อง “อำนาจ”

“อำนาจ” สำหรับฟูโกต์นั้นมีนิยามที่แตกต่างจากที่เราเข้าใจทั่วไป  อำนาจในที่นี้ไม่ใช่แรงที่ใช้บังคับ  แต่เป็นกลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่แบบต่าง ๆ   และก็ไม่ใช่อำนาจที่เกิดจากมิติด้านเศรษฐกิจ-การเมือง  นายทุน-ลูกจ้าง  หรืออำนาจระหว่างรัฐบาลกับประชาชนแบบแนวคิดกลุ่มมาร์กซิสม์  หากแต่ทุกคน ทุกกลุ่มสามารถมีอำนาจได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  โดยในขณะที่นักวิชาการกลุ่มรัฐศาสตร์และกลุ่มมาร์กซิสม์ศึกษาหา “ต้นตอและแหล่งกำเนิด” ของอำนาจ  ว่ามาจากไหนและเป็นอำนาจอะไร  แต่สำหรับฟูโกต์นั้นคั้งคำถามในการศึกษาว่า  อำนาจนั้นกระทำการได้อย่างไร (Exercise)  และผลที่เกิดขึ้นคืออะไร (กาญจนา แก้วเทพ 2554, หน้า339-340)
Continue reading